วันอังคารที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การวัดแสงในการถ่ายภาพ

การวัดแสงในการถ่ายภาพ

       วัตถุหรือสิ่งต่างๆ เมื่อถูกแสงมากระทบ ก็จะสะท้อนแสง กลับออกมา  มิเตอร์วัดแสงภายในตัวกล้องทุกตัว ทำได้  เพียงแค่วัดค่าแสงที่สะท้อนกลับมา

          ถ้าวัตถุหรือสิ่งต่างๆ เวลาโดนแสงแล้วสะท้อนแสงออกมา ได้เท่ากัน ก็คงไม่มีเรื่องยุ่งยากอะไร แต่ในความจริง  การสะท้อนแสงของสิ่งต่างๆ ทำได้ไม่เท่ากัน วัตถุสีขาวก็สะท้อนแสงออกกลับออกมามาก  วัตถุบางชนิดก็แทบไม่สะท้อนแสงกลับออกมาเลย ด้วยเหตุนี้มิเตอร์วัดแสงของกล้องจึงสร้างขึ้นโดยเปรียบเทียบกับการสะท้อนแสงของ สีเทากลาง ที่เรียกว่า middle gray

Middle gray คืออะไร สีเทากลางนั่นถูกใช่ในอุตสาหกรรม สิ่งพิมพ์  ซึ่งเป็นสีเทาที่เมื่อโดนแสงแล้วจะสะท้อนแสง กลับออกมาเพียง 18% แต่ในความเป็นจริงโลกไม่ได้มี แต่สีเทา สีเหลือง สีขาว สะท้อนแสงได้มากกว่า สีดำไม่สะท้อนแสงเลย ปัญหาที่ตามมาก็คือ ถ้าคุณถ่ายภาพสิ่งที่ สีใกล้เคียงกับสีเทากลาง  มิเตอร์วัดแสงก็จะวัดค่าแสงได้ ถูกต้อง แต่ถ้าเกิดไปเจอเข้ากับสิ่งที่สะท้อนแสงมาก หรือ แทบไม่สะท้อนแสง การวัดแสงของมิเตอร์ก็ผิดพลาด เพราะว่าค่าแสงที่วัดได้นั้น  ถูกนำไปเปรียบเทียบกับค่าการสะท้อนแสงของสีเทากลาง

Incident Light แสงที่กระทบกับพื้นผิววัตถุ การวัดค่า แสงที่ส่องลงบนพื้นผิววัตถุ  จะต้องใช้เครื่องวัดแสงแบบ Handheld Meter ซึ่งจะวัดค่าแสงที่อยู่บนพื้นผิววัตถุ

Reflect Light แสงที่สะท้อนออกมาจากพื้นผิววัตถุ เมื่อมีแสงส่องมา  พื้นผิววัตถุก็จะสะท้อนแสงกลับออกมา แสงที่  สะท้อนออกมาจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับพื้นผิววัตถุและสี มิเตอร์วัดแสงในตัวกล้อง  เป็นมิเตอร์ที่วัดค่าแสงสะท้อน

กระดาษ Q13 จาก Kodak

วันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

เทคนิคในการถ่ายภาพทิวทัศน์

เทคนิคในการถ่ายภาพทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

การถ่ายภาพภูเขา

        ในการถ่ายภาพภูเขานั้นหากต้องการสร้างภาพภูเขาให้สามารถดึงดูดความสนใจ เราควรถ่ายจากข้างบนลงข้างล่าง โดยพยามขึ้นไปให้สูงที่สุดเท่าที่จะทำได้ จากนั้นตั้งกล้องแล้วถ่ายลงมา การถ่ายภาพภูเขานั้นเราไม่ควรถ่ายมุมกดหรือมุมเงยเพราะจะเป็นเหมือนการ มองขึ้น/ลงไปธรรมดาเป็นมุมที่เห็นกันโดยทั่วไป

เทคนิคการถ่ายภาพ

เทคนิคการถ่ายภาพ
การถ่ายภาพทิศทัศน์

1.เทคนิคการถ่ายภาพ LAND SCAPE

         หรือการถ่ายภาพภูมิทัศน์  นิยมถ่ายด้วยเลนส์มุมกว้าง เพื่อให้เห็นพื้นที่ในบริเวณกว้าง แต่ก็ขึ้นอยู่กับความต้องการ โดยปกติใช้เลนส์มาตรฐานก็ได้เช่นกัน  การถ่ายภาพลักษณะนี้  ควรใช้รูรับแสงที่แคบเพื่อให้เกิดระยะชัดมากที่สุด ควรคำนึงถึง ฉากหน้า และฉากหลังของภาพ และการวางจุดสนใจ (ตามที่ได้อธิบายไปแล้วในเรื่องของการจัดองค์ประกอบภาพ)  หรืออาจใช้อุปกรณ์เสริมอื่น ๆ เช่น ฟิลเตอร์โพราไรซ์  เพื่อให้สีของภาพอิ่มตัวขึ้น  ท้องฟ้าเข้มขึ้นทำให้ภาพน่าสนใจ

เทคนิคการถ่ายภาพบุคคล

 เทคนิคการถ่ายภาพบุคคล Portrait
ภาพบุคคล Portrait

1. การถ่ายภาพเดี่ยวบุคคล 
        เทคนิคในการถ่ายภาพบุคคลจุดประสงค์ในการถ่ายภาพเดี่ยวบุคคล คือต้องการเน้นบุคลิกภาพของบุคคลนั้นให้เด่นชัด ดังนั้น จึงต้องจัดองค์ประกอบให้ภาพผู้เป็นแบบดูเด่นกว่าองค์ประกอบอื่น ๆ ในภาพ นอกจากนี้เพื่อลดความเคอะเขินของตัวแบบอาจให้ตัวแบบทำบางสิ่งบางอย่าง เช่น ให้ถือของบางอย่าง ที่สามารถ บอกลักษณะของบุคคลได้ พยามถ่ายภาพบุคคลให้สัมพันธ์กับกิจกรรมที่เขาทำอยู่ เช่น เด็กกำลังขี่จักรยาน ผู้หญิงกำลังจัดดอกไม้ ชายชรากับงานของเขา

ประวัติการถ่ายภาพ

 ประวัติการถ่ายภาพ Photography


      การถ่ายภาพมาจากศัพท์ภาษาอังกฤษว่า  Photography  รากศัพท์มาจากภาษากรีก 2 คำ คือ Phos หมายถึง แสงสว่าง Graphein หมายถึง การเขียน  รวมกันจึงหมายถึง "การเขียนด้วยแสงสว่าง"

 ความหมายของการถ่ายภาพ มี 2 ประเด็น คือ

1. เชิงวิทยาศาสตร์  หมายถึง  การทำปฏิกิริยาระหว่างวัสดุไวแสงกับแสง
2. เชิงศิลปะ  หมายถึง  การวาดภาพด้วยแสงและเงารวมทั้งการผสมสีเพื่อถ่ายทอดความหมาย ความรู้สึก อารมณ์ หรือทัศนคติ

        การถ่ายภาพ คือ การสร้างภาพเพื่อสื่อความหมาย ความรู้สึก อารมณ์ รวมทั้งทัศนคติ โดยใช้กระบวนการที่ปล่อยให้แสงสว่างสะท้อนมาจากวัตถุผ่านเข้าไปกระทบกับวัตถุไวแสง แล้วจึงนำวัตถุไวแสงไปผ่านกระบวนการสร้างภาพให้ปรากฏ

เรียนรู้เรื่องกล้อง

 เรียนรู้เรื่องกล้อง


กล้องดิจิตอลสามารถแบ่งได้เป็น 3 ระดับ คือ

1. กล้องCompact หรือ กล้องถ่ายภาพดิจิตอล   สำหรับบุคคลทั่วไป
       กล้องเป็นกล้องแบบที่เราพบเห็นกันมากที่สุด  รูปทรงของกล้องชนิดนี้มีความหลากหลาย ทั้งแบบที่เหมือนกับกล้องถ่ายรูปแบบคอมพแพ็คที่ใช้ฟิล์ม กล้องขนาดกระเป๋าเสื้อ  ที่แบนและบาง การใช้งานเพียงยกกล้องขึ้นมาเพื่อเล็งแล้วถ่าย   กล้องถ่ายภาพดิจิตอลประเภทนี้มักมีขนาดเล็ก ราคาไม่แพง   มีระบบการทำงานอัตโนมัติและตายตัว

การจัดองค์ประกอบภาพแบบง่าย

การจัดองค์ประกอบภาพแบบง่าย

องค์ประกอบภาพถือเป็นเรื่องสำคัญที่สุด

      องค์ประกอบภาพถือเป็นเรื่องสำคัญที่สุดของการถ่ายภาพให้สวยงาม เพราะการถ่ายภาพถือเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง ซึ่งมีหลายหลักการ แต่ในวันนี้จะขอยกตัวอย่างหลักการจัดองค์ประกอบภาพอย่างง่าย โดยผู้ที่ไม่มีพื้นฐาน

การถ่ายภาพก็สามารถนำไปใช้ได้ ดังนี้
1. การวางจุดสนใจของภาพ (Center of Interest) ในการถ่ายภาพจำเป็นต้องเลือกจุดสนใจในภาพให้เป็นตัวเอก หลักการง่ายๆ ในการวางจุดสนใจคือ “จุดสนใจในภาพต้องดูง่าย ผู้ที่ชมภาพเข้าใจได้ทันทีว่าเราต้องการสื่อถึงอะไรในภาพ” เช่น การวางจุดสนใจให้มีสีสันตัดกับฉากหลัง และไม่จำเป็นต้องวางจุดสนใจไว้ตรงกลางเสมอไป