วันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

เรียนรู้เรื่องกล้อง

 เรียนรู้เรื่องกล้อง


กล้องดิจิตอลสามารถแบ่งได้เป็น 3 ระดับ คือ

1. กล้องCompact หรือ กล้องถ่ายภาพดิจิตอล   สำหรับบุคคลทั่วไป
       กล้องเป็นกล้องแบบที่เราพบเห็นกันมากที่สุด  รูปทรงของกล้องชนิดนี้มีความหลากหลาย ทั้งแบบที่เหมือนกับกล้องถ่ายรูปแบบคอมพแพ็คที่ใช้ฟิล์ม กล้องขนาดกระเป๋าเสื้อ  ที่แบนและบาง การใช้งานเพียงยกกล้องขึ้นมาเพื่อเล็งแล้วถ่าย   กล้องถ่ายภาพดิจิตอลประเภทนี้มักมีขนาดเล็ก ราคาไม่แพง   มีระบบการทำงานอัตโนมัติและตายตัว


2. กล้องProsumer หรือ กล้องดิจิตอล   สำหรับช่างภาพสมัครเล่น
       ลักษณะตัวกล้องยังคงมีลักษณะของกล้องกล้องถ่ายภาพประเภท Compact  แต่มีระบบการทำงานบางอย่างที่สามารถเลือกปรับได้  และที่สำคัญคือมีความละเอียดสูงขึ้น  คืออยู่ในระดับมากกว่า  1,000,000 พิกเซล ซึ่งสามารถแสดงเป็นภาพถ่ายขนาด 8 x 10 นิ้วได้   พอเพียงต่อการนำภาพถ่ายไปใช้ในงานต่าง ๆ

3. กล้อง D-SLR หรือกล้องถ่ายภาพ สำหรับมืออาชีพ
        กล้องดิจิตอลชนิดนี้เป็นกล้องในระดับมือสมัครเล่นที่จริงจังหรือกึ่งอาชีพ  ถึงระดับของมืออาชีพ   ผู้ที่จะใช้ควรมีความรู้ในการถ่ายภาพดีพอสมควร จุดสำคัญของกล้องชนิดนี้ก็คือ  สามารถเปลี่ยนเลนส์ได้  ทำให้ใช้งานได้หลากหลาย และใช้การมองภาพผ่านเล่นจริง  คือในขณะที่เล็งภาพโดยใช้ช่องมองภาพนั้น  สายตาของเราจะมองผ่านเลนส์อกไปโดยตรง  ทั้งนี้โดยอาศัยการหักเหของแสงแบบเดียวกับที่ใช้ในกล้องถ่ายภาพแบบ SLR ที่ใช้ฟิล์มนั่นเอง รูปร่างของกล้องชนิดนี้ค่อนข้างใหญ่  เนื่องจากเซ็นเซอร์รับภาพขนาดใหญ่กว่ากล้องแบบพกพา  และยังต้องรองรับน้ำหนับเลนส์รวมทั้งฟังชั่นการทำงานที่ซับซ้อนอีกด้วย แต่ก็จะให้ภาพที่มีคุณภาพดีกว่ากล้องชนิดพกพา

ส่วนประกอบของกล้อง

ส่วนประกอบของกล้องดิจิตอล

1.  ไมโครโฟนซึ่งติดตั้งมาพร้อมกับกล้อง
2.   สัญญาณไฟบันทึกภาพและประวิงเวลา
3.   แป้นเลือก  Mode  การทำงานของกล้อง
4.   ปุ่มชัตเตอร์
5.   แฟลช
6.   แหวนปรับโฟกัส
7.   เลนส์
8.   Photocell  สำหรับแฟลช
9.   ช่องเสียบสาย A / V
10. ช่องเสียบสาย USB สำหรับถ่ายโอนข้อมูล
11. ปุ่มเปิดแฟลช
12. ปุ่มตั้งระบบวัดแสง  Spot
13. ปุ่มปรับตั้งระดับ White  Balance
14. ปุ่มตั้ง White  Balance
15. ปุ่มตั้งระบบถ่ายภาพระยะใกล้ (Macro)
16. สวิทซ์เลือกระบบโฟกัส
17.  ก้านตั้งซูมเลนส์
18.  สวิทซ์ปิดเปิดการทำงานของกล้อง
19.  จอ LCD
20.  สวิทซ์ปิดจอ LCD เพื่อประหยัดไฟ
21.  ปุ่มปรับตั้งโปรแกรม AE
22.  ปุ่มโปรแกรม  AE
23.  ก้านปลดแบ็ตเตอรี่
24.  Access  Lamp
25.   ฝาปิดช่องแบตเตอรี่และ       แผง Memory  Stick
26. ปุ่มตั้งแฟลช
27. สวิทซ์เปิดฝาแบ็ตเตอรี่
28. ช่องสำหรับสาย  AC  power
29. ช่องเสียบสายแฟลชภายนอก
30. ปุ่ม  Display
31. แป้นควบคุมการปรับเลือก

ตัวอย่างโหมดในกล้อง

        โหมด Autoเป็นโหมดถ่ายภาพอัตโนมัติร้อยเปอร์เซนต์หมายความว่า กล้องจะตั้งค่าต่างให้ทุกค่า เหมาะสำหรับใช้ถ่ายภาพเมื่อคิดอะไรไม่ออก โหมด Auto ก็ใช้โหมดนี้เลยคับ ไม่ใช่โหมดที่ถ่ายภาพได้สวยที่สุด แต่เป็นโหมดที่ถ่ายภาพง่าย และมีโอกาสถ่ายภาพเสียน้อย (ได้ภาพ แต่สวยไม่สวยอีกเรื่องหนึ่ง)

        โหมด Scene โหมดอัตโนมัติแบบเฉพาะทางโหมดอัตโนมัติอีกรูปแบบหนึ่ง กล้องปรับค่าพารามิเตอร์ให้ทุกค่าเช่นเดียวกัน (ส่วนใหญ่สามารถปรับค่าบางอย่างได้ เช่นเปิดแฟลซ ปรับชดเชยแสง ตั้ง ISO) แต่การปรับพารามิเตอร์นี้จะต่างกับโหมด Auto เพราะเป็นการตั้งค่าพารามิเตอร์ให้เหมาะกับ Scene ที่เราเลือก เช่น Scene ถ่ายภาพมาโคร กล้องจะปรับระยะโฟกัสให้ และบนกล้องคอมแพคบางรุ่นจะเพิ่มกำลังขยาย หรือคร็อปรูปให้ดูใหญ่ขึ้น ทำให้ถ่ายภาพมาโครได้ง่ายขึ้น  Scene โหมด ส่วนใหญ่แล้วใช้ไอคอนเป็นสัญลักษณ์ เช่นรูปคน หมายถึง Scene ที่ตั้งค่าไว้ถ่ายภาพคน ไอคอนรูปดอกไม้ หมายถึง Scene ที่ตั้งค่าไว้สำหรับถ่ายภาพมาโคร ภาพมาโครหมายถึงภาพถ่ายระยะใกล้ เช่นถ่ายผีเสื้อ ดอกไม้ แมลงปอ เป็นต้น ส่วนไอคอนอื่นๆ ก็สามารถเดาได้ไม่ยาก เช่นไอคอนรูปคนวิ่ง หมายถึง Scene ที่ตั้งค่าไว้ถ่ายภาพที่มีการเคลื่อนไหว กล้องจะเน้นค่าความเร็วชัตเตอร์เป็นพิเศษ ส่วนรูปภูเขา หมายถึง Scene ที่ตั้งค่าไว้ถ่ายภาพวิว ทิวทัศน์ ซึ่งกล้องจะเน้นตั้งค่ารูรับแสงให้ชัดลึก นอกจากนี้ยังปรับโทนสีเขียวของใบไม้และโทนสีฟ้าของท้องฟ้า ทะเลให้สีเข้มยิ่งขึ้น ถ้าเราตั้งโหมดอัตโนมัติแบบ Auto ค่าเหล่านี้จะไม่ถูกเน้นเลย จะเป็นการตั้งค่าแบบกว้างๆ มากกว่า

        โหมด P หรือโหมด Program เป็นโหมดถ่ายภาพอัตโนมัติคล้ายกับโหมด Auto แต่เราสามารถปรับค่าพารามิเตอร์ทุกค่าได้ ยกเว้นค่ารูรับแสงและความเร็วชัตเตอร์ที่กล้องจะปรับให้ ส่วนค่าพารามิเตอร์อื่นๆ อย่าง ISO, แฟลซ, ชดเชยแสง, WB (สมดุลแสงขาวหรือไวท์บาลานซ์), รูปแบบการโฟกัสและการวัดแสง ค่าเหล่านี้เราสามารถเลือกปรับค่าได้ตามใจ สรุปว่าโหมด P เหมาะสำหรับทุกสถานการณ์ ขึ้นอยู่กับการควบคุมค่าพารามิเตอร์อื่นๆ ของเรา ว่าจะปรับค่าให้ดีที่สุด ในสถานการณ์นั้นๆ ได้อย่างไร

        โหมดถ่ายภาพ A (Aperture Priority)โหมดนี้เป็นโหมดถ่ายภาพที่หลายท่านชอบใช้ โหมด A หรือ Av (ในกล้องบางรุ่น) ย่อมาจาก Aperture Priority ซึ่งเป็นโหมดถ่ายภาพอัตโนมัติที่ให้ผู้ใช้งานปรับเลือกค่ารูรับแสงด้วยตัวเอง ส่วนพารามิเตอร์อื่นๆ กล้องจะเลือกให้อัตโนมัติโหมดนี้ให้ความสำคัญกับรูรับแสง ในกรณีที่เราต้องการควบคุมรูรับแสงด้วยตัวเอง ซึ่งส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับระยะ "ชัดลึก ชัดตื้น"ดังนั้นโหมด A จึงเหมาะสำหรับกรณีที่เราต้องการควบคุมระยะชัดลึกของภาพนั่นเองครับโหมดถ่ายภาพ S (Shutter Priority)โหมด S เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถใช้ได้เป็นอย่างดี.. บอกไว้ก่อนว่าโหมด S ไม่ได้หมายความว่าคุณสามารถหยุดการเคลื่อนไหวของแบบในภาพได้ทุกสภาพแสง แต่ความหมายของ S คือการที่เราสามารถควบคุมความเร็วชัตเตอร์ด้วยตัวเอง เพื่อให้เกิดผลของภาพที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว โหมดถ่ายภาพ S เป็นโหมดที่เราต้องเป็นคนกำหนดความเร็วชัตเตอร์ (รวมถึงพารามิเตอร์อื่นที่จำเป็น) ส่วนค่ารูรับแสงกล้องจะปรับให้เราโดยอัตโนมัติ ขึ้นอยู่กับสภาพแสงในขณะนั้นเป็นหลัง

การโฟกัส

        ก่อนถ่ายภาพทุกครั้งควรกดชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่งเพื่อโฟกัสก่อนเสมอ ภาพจะคมชัดขึ้น เราสามารถกดค้างไว้แล้วขยับกรอบไปมาให้พระเอกอยู่ข้าง ๆ ไม่ต้องอยู่ตรงกลางรูปก็ได้ ทำให้พระเอกชัดแม้ไม่ต้องอยู่กลางภาพ ลองฝึกดูนะครับ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น