วันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

เทคนิคการถ่ายภาพ

เทคนิคการถ่ายภาพ
การถ่ายภาพทิศทัศน์

1.เทคนิคการถ่ายภาพ LAND SCAPE

         หรือการถ่ายภาพภูมิทัศน์  นิยมถ่ายด้วยเลนส์มุมกว้าง เพื่อให้เห็นพื้นที่ในบริเวณกว้าง แต่ก็ขึ้นอยู่กับความต้องการ โดยปกติใช้เลนส์มาตรฐานก็ได้เช่นกัน  การถ่ายภาพลักษณะนี้  ควรใช้รูรับแสงที่แคบเพื่อให้เกิดระยะชัดมากที่สุด ควรคำนึงถึง ฉากหน้า และฉากหลังของภาพ และการวางจุดสนใจ (ตามที่ได้อธิบายไปแล้วในเรื่องของการจัดองค์ประกอบภาพ)  หรืออาจใช้อุปกรณ์เสริมอื่น ๆ เช่น ฟิลเตอร์โพราไรซ์  เพื่อให้สีของภาพอิ่มตัวขึ้น  ท้องฟ้าเข้มขึ้นทำให้ภาพน่าสนใจ

STOP ACTION
2. STOP ACTION เป็นเทคนิคการใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่สูง

         เพื่อให้ภาพที่เคลื่อนไหวดูหยุดนิ่ง  โดยใช้ตั้งแต่  1/250 วินาทีขึ้นไป ขึ้นอยู่กับความเร็วในการเคลื่อนที่ผ่านหน้าเลนส์ของวัตถุ    การถ่ายภาพลักษณะนี้ต้องวางแผนให้ดี ปรับโฟกัส และวัดแสงไว้ล่วงหน้า อาศัยการกะระยะ  และการตัดสินใจที่ฉับไวในการถ่ายภาพ  แต่ต้องอย่าลืมเรื่องการจัดองค์ประกอบภาพเพื่อให้ภาพมีความงาม และมีคุณค่า

ACTION

3. ACTION เป็นการใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำ

        ถ่ายภาพวัตถุที่เคลื่อนไหวเพื่อให้เห็นถึงการเคลื่อนไหว เพราะความเร็วชัตเตอร์ที่ช้า จึงทำให้วัตถุที่ต้องการเน้นไม่ชัดเจน พร่ามัว จะใช้ความเร็วชัตเตอร์ช้ามากเพียงใดขึ้นอยู่กับความเร็วของวัตถุที่เคลื่อนที่   ผ่านเลนส์ ผู้ถ่ายภาพต้องสามารถประมาณความเร็วได้ ยิ่งช้ามากเท่าใด ภาพยิ่งพร่ามัวมากเท่านั้น แต่อย่ามากเกินไปเพราะจะทำให้มองไม่เห็นวัตถุที่ถ่ายให้ชัดเจน

PANNING

4. PANNING  เป็นการใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำ

        ถ่ายภาพวัตถุที่เคลื่อนไหวเหมือนกับภาพ Action แต่จะใช้เทคนิคการแพน หรือการส่ายกล้องตามวัตถุที่เคลื่อนที่ และกดชัตเตอร์ขณะที่ส่ายกล้อง ทำให้วัตถุที่ต้องการเน้นนิ่ง เห็นรายละเอียดมากยิ่งขึ้น แต่ฉากหน้าและฉากหลังที่นิ่งอยู่กับที่ลู่ตามวัตถุ เป็นที่นิยมมากในการถ่ายภาพกีฬาประเภทต่าง ๆ

CLOSE UP

5. CLOSE UP เป็นการถ่ายภาพระยะใกล้

       เพื่อเน้นรายละเอียด หรือการถ่ายภาพวัตถุขนาดเล็ก สามารถถ่ายโดยใช้ฟิลเตอร์ Close up ซึ่งมีลักษณะเป็นเลนส์ขยาย จำหน่ายเป็นชุด ๆ ละ 3 อัน สามารถต่อกันได้  แต่ต้องระวังในการถ่ายเพราะ ภาพจะชัดเฉพาะ ตรงกลางภาพ ส่วนด้านขอบของภาพจะไม่ชัดเพราะความโค้งของเลนส ์ ยิ่งใช้ฟิลเตอร์หลายตัวยิ่งลดความคมชัดของภาพลง ถ้าต้องการคุณภาพดี ควรใช้เลนส์มาโครหรือเลนส์ถ่ายใกล้ จะให้รายละเอียดของภาพมากยิ่งขึ้น การถ่ายภาพต้องระวังอย่าให้สั่นไหวเด็ดขาด ควรใช้ขาตั้งกล้องและสายลั่นชัตเตอร์เข้าช่วย หรือพยายามใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่สูง จะช่วยได้มาก

SILHOUETTE

6. SILHOUETTE เป็นเทคนิคการถ่ายภาพย้อนแสง

         โดยจะไม่เห็นรายละเอียดของวัตถุ  ควรถ่ายในช่วงเช้า หรือช่วงเย็น  แสงแดดเริ่มอ่อน อย่าวัดแสงกับดวงอาทิตย์ตรง ๆ ควรวัดแสงที่ท้องฟ้า เฉียง 45 องศา กับดวงอาทิตย์ และลดรูรับแสงให้แคบลง 2-4 Stop หรือถ้าเป็นเวลาเย็นมาก สามารถมองดวงอาทิตย์ด้วยตาเปล่าได้ ก็วัดแสงที่ดวงอาทิตย์ได้เลย  การถ่ายภาพประเภทนี้ต้องระวังเรื่องฉากหน้าและฉากหลังด้วย เพราะจะทำให้รบกวนภาพทำให้ภาพดูรกตา

NIGHT PICTURE

7. NIGHT PICTURE  หรือการถ่ายภาพไฟกลางคืนที่สวยงาม จะได้ภาพที่แปลกตา

อุปกรณ์ที่ต้องใช้
1.  กล้องถ่ายภาพพร้อมฟิล์ม
2.  ขาตั้งกล้องพร้อมสายลั่นชัตเตอร์
3.  อื่นๆ เช่น ไฟฉาย  ผ้าดำ 

วิธีการถ่ายภาพ NIGHT PICTURE


1. ติดตั้งกล้องกับขาตั้งกล้องให้มั่นคง  พร้อมติดตั้งสายลั่นชัตเตอร์ให้พร้อม
2. ส่องกล้องหาทิศทางในการถ่ายภาพ ให้ได้มุมที่เหมาะที่สุด
3. คาดคะเน สภาพแสงเพื่อกำหนดเวลา และรูรับแสง โดยปกติถ้าเป็นไฟตามถนนปกติ จะใช้ประมาณ 5.6หรือ 8
4. ตั้งความเร็วชัตเตอร์ที่ B ลั่นชัตเตอร์ค้างไว้ให้รถวิ่งผ่านจนเป็นที่พอใจ ประมาณ  10 -60 วินาที หรือถ้าทิ้งช่วงเวลานาน ใช้ผ้าดำคลุมหน้าเลนส์ไว้ก่อนก็ได้  การถ่ายภาพไฟกลางคืน ควรถ่ายเผื่อหลาย ๆ ภาพ โดยใช้เวลาในการบันทึกภาพ และขนาดรูรับแสงต่าง ๆ กัน และจดบันทึกไว้จะดีที่สุด  และควรฝึกหัดเป็นประจำเพราะต้องอาศัยความชำนาญอย่างสูงในการถ่ายภาพประเภทนี้

ภาพที่มีโทนสีดำมาก และมีสีตัดกันสูง

8. LOW KEY ภาพที่มีโทนสีดำมาก และมีสีตัดกันสูง

         ภาพจะดูลึกลับ สะดุดตา น่าสนใจ  อาจใช้แสงจากธรรมชาติโดยแสงเข้าในทิศทางเดียว หรือกระทบที่วัตถุที่จะถ่ายเพียงด้านเดียว โดยวัดแสงที่จุดกระทบของแสง คือ วัดแสงใกล้ ๆ กับวัตถุ แล้วถอยกล้องออกมาถ่าย โดยไม่ต้องปรับรูรับแสง หรือความเร็วชัตเตอร์อีก

ภาพแบบ CREATIVE

9. CREATIVE การถ่ายภาพ หามุมมองที่แปลกๆ สวยงาม น่าสนใจ

        มีความเป็นตัวของตัวเอง เพราะจะช่วยให้ประสบความสำเร็จได้เร็วขึ้น  หลายครั้งที่เห็นนักถ่ายภาพไปถ่ายภาพในสถานที่ต่าง ๆ แล้วได้ภาพออกมาเหมือนกันหมด หรือถ่ายแต่มุม ส.ค.ส  หรือมุมปฏิทิน  ที่มีจำหน่ายหรือตีพิมพ์ออกมาจนเห็นชินตา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น