วันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การจัดองค์ประกอบภาพแบบง่าย

การจัดองค์ประกอบภาพแบบง่าย

องค์ประกอบภาพถือเป็นเรื่องสำคัญที่สุด

      องค์ประกอบภาพถือเป็นเรื่องสำคัญที่สุดของการถ่ายภาพให้สวยงาม เพราะการถ่ายภาพถือเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง ซึ่งมีหลายหลักการ แต่ในวันนี้จะขอยกตัวอย่างหลักการจัดองค์ประกอบภาพอย่างง่าย โดยผู้ที่ไม่มีพื้นฐาน

การถ่ายภาพก็สามารถนำไปใช้ได้ ดังนี้
1. การวางจุดสนใจของภาพ (Center of Interest) ในการถ่ายภาพจำเป็นต้องเลือกจุดสนใจในภาพให้เป็นตัวเอก หลักการง่ายๆ ในการวางจุดสนใจคือ “จุดสนใจในภาพต้องดูง่าย ผู้ที่ชมภาพเข้าใจได้ทันทีว่าเราต้องการสื่อถึงอะไรในภาพ” เช่น การวางจุดสนใจให้มีสีสันตัดกับฉากหลัง และไม่จำเป็นต้องวางจุดสนใจไว้ตรงกลางเสมอไป


2. กฎสามส่วน เป็นการจัดวางองค์ประกอบภาพให้ดูดี โดยการกำหนดจุดสนใจของเราที่จุดตัดของเส้นฉากแบ่งรูปออก เป็น 3 ส่วน ทั้งแนวตั้งและแนวนอน ซึ่งในกล้อง compact ส่วนใหญ่มีฟังก์ชั่น Grid Line มาให้ โดยกฎสามส่วนสามารถวางจุดสนใจได้ทั้ง 4 จุดตัดและได้ทั้งแนวตั้งและแนวนอน

3. การจัดองค์ประกอบแบบสมมาตร เป็นการจัดองค์ประกอบภาพด้วยการแบ่งเฟรมรูปออกเป็นสองส่วน ด้านซ้ายและด้านขวาให้สมมาตรกัน เพื่อให้จุดสนใจดูง่ายขึ้น และภาพมีความสมดุล

การถ่ายภาพในมุมต่างๆ ก็จะให้อารมณ์และความรู้สึกที่ต่างกัน ได้แก่
การถ่ายภาพมุมเงย คือถ่ายจากที่ต่ำไปที่สูง จะให้ความรู้สึกของวัตถุที่ถ่ายมีความยิ่งใหญ่ เป็นผู้นำ
การถ่ายภาพมุมต่ำ คือถ่ายจากที่สูงไปที่ต่ำ จะให้ความรู้สึกของวัตถุที่ถ่ายดูต้อยต่ำ น้อยเนื้อต่ำใจ

4. จุดสนใจฉากหน้าฉากหลังการถ่ายภาพในลักษณะนี้คือ การเน้นวัตถุที่อยู่ด้านหน้าให้มีความคมชัดน่าสนใจ สีของวัตถุกับฉากด้านหลังเป็นสีที่ตัดกัน

พื้นฐานที่นักถ่ายภาพควรทราบ

1. ความเร็วชัตเตอร์ หรือ Shutter Speed เป็นการกำหนดระยะเวลาในการถ่ายภาพ เช่น ถ้าเราต้องการ
ถ่ายภาพที่วัตถุมีการเคลื่อนไหวเร็ว แต่เราต้องการภาพชัด ควรกำหนด Shutter Speed ที่มีค่าสูง คือมากกว่า 1/500 ขึ้นไป จึงจะเห็นภาพชัดเจน

2. ขนาดรูรับแสง เป็นการกำหนดปริมาณของแสงที่ผ่านเข้ามาในเลนส์ได้มากหรือน้อย เรียกว่า F-stop
ถาม อยากได้เทคนิคการถ่ายภาพ Portrait ให้ดูฟุ้งๆ จะถ่ายอย่างไร
ตอบ ถ้าในกล้อง compact สามารถปรับให้อยู่ในโหมด Portrait ได้ แต่ถ้าในกล้อง single lens เราต้อง
ปรับขนาดของรูรับแสงให้มาก ภาพที่ออกมาจะมีลักษณะ “ชัดลึก” แต่หากปรับขนาดของรูรับแสงให้น้อย ภาพที่ออกมาจะมีลักษณะ “ชัดตื้น” กล่าวคือ จุดสนใจจะชัด พื้นหลังจะเบลอ

เส้นนำสายตา

เทคนิคการถ่ายภาพอื่นๆ ที่น่าสนใจ
1. เส้นนำสายตา เช่น การใช้ถนน เส้นแม่น้ำมาช่วย เพื่อให้วัตถุดูลึก มีมิติ
2. ภาพ close up เป็นการถ่ายภาพที่เน้นใบหน้า ซึ่งการถ่ายภาพไม่จำเป็นต้องถ่ายให้เห็นทั้งหัว จะถ่าย
ตรงหน้าผากลงมาก็ได้ โดยภาพที่ได้นี้จะเห็นดวงตา ซึ่งจะสื่อถึงอารมณ์และความรู้สึกออกมาด้วย
3. ภาพย้อนแสง ควรใช้อุปกรณ์เสริมคือ ขาตั้งกล้อง
4. การถ่ายภาพในกล้อง single lens ให้เห็นแสงบนฉากหลังเป็นรูปต่างๆ ได้แก่
- แสงกลม โดยการเปิดรูรับแสงให้กว้าง
- แสงเหลี่ยม โดยการเปิดรูรับแสงให้แคบ
5. การถ่ายภาพโดยใช้เลนส์ tele หรือ เลนส์ซูมเข้ามาช่วย จะทำให้ภาพเกิดความสวยงามมากยิ่งขึ้น
 ภาพที่ไม่ควรถ่าย ได้แก่
- ภาพที่ถ่ายแล้วมีพื้นที่เหลือ
- ภาพที่ถ่ายแล้วดูตัวเอกไม่มีความสำคัญ หรือกลืนไปกับฉากหลัง
 ภาพที่ควรถ่าย ได้แก่
- การถ่ายภาพให้แน่นๆ คือ เน้นวัตถุให้มีความเด่น
- การถ่ายภาพทั้งตัว ควรให้เห็นเท้าด้วย
 การใช้งานของภาพแต่ละประเภท
- ภาพนิ่ง ใช้สำหรับการทำสื่อสิ่งพิมพ์
- ภาพเคลื่อนไหว เป็นภาพที่ใช้เล่าเรื่องราวและจบในตัวของมันเอง ใช้สำหรับการทำรายการโทรทัศน์
มัลติมีเดีย

ภาพทุกภาพที่ถ่ายออกมาต้องเป็นการสื่อความหมาย หรือเป็นการบอกเรื่องราว



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น