วันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

เทคนิคในการถ่ายภาพทิวทัศน์

เทคนิคในการถ่ายภาพทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

การถ่ายภาพภูเขา

        ในการถ่ายภาพภูเขานั้นหากต้องการสร้างภาพภูเขาให้สามารถดึงดูดความสนใจ เราควรถ่ายจากข้างบนลงข้างล่าง โดยพยามขึ้นไปให้สูงที่สุดเท่าที่จะทำได้ จากนั้นตั้งกล้องแล้วถ่ายลงมา การถ่ายภาพภูเขานั้นเราไม่ควรถ่ายมุมกดหรือมุมเงยเพราะจะเป็นเหมือนการ มองขึ้น/ลงไปธรรมดาเป็นมุมที่เห็นกันโดยทั่วไป


การถ่ายภาพป่า

         การถ่ายภาพป่าควรถ่ายภาพในวันที่มีเมฆครึ้ม สภาพแสดงแดดไม่แรงกล้า แต่ก็มีข้อยกเว้น หากมีบรรยากาศ หมอกหรือควันจาง ๆ  ในป่าวันที่มีอากาศสดใสรังสีของดวงอาทิตย์ จะตัดผ่านหมอกหรือควันจนกลายเป็นภาพที่น่าตื่นตาตื่นใจการจัดองค์ประกอบในการถ่ายภาพป่านั้นไม่ควรถ่ายพื้นดินเข้าไปในภาพด้วยเพราะพื้นดินมักที่ดูรก ด้วยกิ่งไม้ ใบไม้แห้ง จะแย่งความสวยงามของต้นไม้ไป


การถ่ายภาพน้ำตก

เคล็ดลับในการถ่ายภาพน้ำตกให้ได้ภาพน้ำตกที่พลิ้วไหว คือการเปิดชัตเตอร์ทิ้งไว้ (อย่างน้อยหนึ่งหรือสองวินาที) แต่หากคุณถ่ายภาพน้ำตกในวันที่มีแสงแดดจัดการเปิดชัตเตอร์ทิ้งไว้จะทำให้แสงเข้ามา
ข้างในมากเกินไปซึ่งมีวิธีการแก้ไขดังนี้
       ก) ให้ถ่ายภาพน้ำตกในตอนที่พระอาทิตย์ขึ้นหรือหลังพระอาทิตย์ตก
       ข) ใช้ฟิลเตอร์ Stop - Down ซึ่งเป็นฟิลเตอร์ที่ทำให้แสงผ่านเลนส์น้อยเป็นพิเศษหรืออาจใช้ฟิลเตอร์โพลาไรซ์ (polarizing)แทนเพื่อตัดแสงสะท้อนในน้ำตกและบนหินนอกจากนั้นยังช่วยลดแสงลงไปประมาณ 2 stop ทำให้สามารถเปิดชัตเตอร์ได้นานยิ่งขึ้น
         ค) หากไม่มีฟิลเตอร์ Stop - Down หรือฟิลเตอร์โพลาไรซ์ให้ปรับค่ารูรับแสง (Aperture) ให้สูงสุดเท่าที่จะทำได้ (ประมาณ f/22 ถึง f/36) ซึ่งจะทำให้แสงผ่านเลนส์เข้าไปได้น้อยลงทำให้คุณสามารถเปิดชัตเตอร์ได้นานขี้น

ภาพน้ำตกที่พลิ้วไหว

เคล็ด(ไม่)ลับ

        วิวทิวทัศน์ในธรรมชาติที่งดงามมีอยู่ทั่วไปมากมาย เมื่อจะถ่ายควรเลือกจุดสนใจหลักที่ต้องการเน้น เช่นแม่น้ำ, ถนน, รั้ว หรือการใช้เส้นนำสายตา การถ่ายภาพทิวทัศน์มักใช้เทคนิค การถ่ายภาพ แบบชัดลึก โดยการเปิดรูรับแสงให้แคบ (F-number มีค่ามาก) การถ่ายภาพทิวทัศน์นั้นจะบันทึกภาพแบบใดจะต้องคิดเสียก่อนว่าต้องการสร้างภาพให้เกิดอารมณ์ ความรู้สึกหรือคุณสมบัติของสถานที่นั้นออกมาอย่างไร

พื้นฐานการถ่ายภาพทิวทัศน์

        เวลาที่เหมาะสมในการถ่ายภาพทิวทัศน์ในวันหนึ่ง ๆ แสงมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แล้วเวลาที่เหมาะสมในการถ่ายภาพทิวทัศน์ได้มี 2 ช่วงเวลาคือ
        ก. ช่วงเช้า 15 - 30 นาทีก่อนพระอาทิตย์ขึ้น และ 30 นาทีหรือ 1 ชั่วโมงหลังจากพระอาทิตย์ขึ้น (แล้วแต่สภาพแสงในขณะนั้น)
        ข. ช่วงเย็น 15 - 30 นาทีก่อนพระอาทิตย์ตก และ 30 นาทีหลังพระอาทิตย์ตก เหตุผลที่ต้องถ่ายภาพในเวลานั้นเพราะเป็นช่วงเวลา ที่แสงมีลักษณะอบอุ่น เงาที่นุ่มนวล ทำให้คุณภาพของแสง เหมาะสม กับการบันทึกภาพทิวทัศน์

การจัดองค์ประกอบของภาพทิวทัศน์
        การจัดวางตำแหน่งที่เหมาะสมสำหรับจุดสนใจในภาพ (Point of interest) มีหลักเกณฑ์ที่นิยมกันโดยทั่วไปคือ กฎสามส่วน (Rule of thirds หลักของกฎสามส่วนคือ ไม่ว่าภาพจะอยู่ ในแนวตั้งหรือแนวนอนก็ตาม หากเราแบ่งภาพนั้น ออกเป็นสามส่วนตามแนวตั้งและ แนวนอนแล้วลากเส้นแบ่งภาพทั้ง 3 เส้น จุดตัดกันของเส้นทั้ง 4 จุดนี้จะเป็นตำแหน่ง ที่เหมาะสม กับการวางจุดสนใจของภาพ ยกตัวอย่าง เช่น การถ่ายภาพทิวทัศน์ วัตถุสำคัญ ในภาพควรจะอยู่ในบริเวณจุดตัดทั้ง 4 จุด ซึ่งจุดนี้หรืออาจนำไปใช ้ ในการจัดวางตำแหน่งโดยการแบ่งภาพออกเป็นส่วน ๆ โดยยึดเส้นแบ่ง 3 เส้นนี้ เป็นแนวก็ได้ เช่นการจัดวางเส้นขอบฟ้าให้อยู่ในแนวเส้นแบ่งส่วนโดยให้ส่วนหน้าและท้องฟ้าอยู่ใน อัตราส่วน 1 : 3 หรือ 3 : 1 ก็ได้แต่ไม่ควรเป็น 1 : 1
ท้องฟ้าใน อัตราส่วน 1 : 3

ทิศทางของแสงในการถ่ายภาพทิวทัศน์

        ตามปกติการถ่ายภาพทิวทัศน์นิยมให้แสงเข้าทางด้านข้าง (Cross lighting) จะทำให้เห็นความสูงต่ำของพื้นที่มีแสง - เงาดี หรืออาจถ่าย ให้แสงเข้าด้านหลังวิว (Black lighting) หรือที่เรียกว่า ภาพย้อนแสง (Silhouette) ในช่วงเช้าตอนดวงอาทิตย์ตกดินจะให้ความรู้สึกทางด้านรูปร่างเป็นโครงร่างและมีส่วนสว่างบริเวณรอบ ๆ ของวัตถุ แต่จะเห็นรายละเอียดน้อย (การถ่ายภาพย้อนแสงควรถ่ายในช่วงเช้า หรือช่วงเย็น แสงแดดเริ่มอ่อน อย่าวัดแสงกับดวงอาทิตย์ตรง ๆ ควรวัดแสงที่ท้องฟ้า เฉียง 45 องศา กับดวงอาทิตย์ และลดรูรับแสงให้แคบลง 2-4 Stop หรือถ้าเป็นเวลาเย็นมาก สามารถมองดวงอาทิตย์ด้วยตาเปล่าได้ ก็วัดแสงที่ดวงอาทิตย์ได้เลย นอกจากนั้นให้เปิดหน้ากล้องแคบๆ ภาพจะได้มีความชัดลึกตลอดทั้งภาพ) แสงที่ส่อง เข้ามาตรง ๆ เหนือศรีษะ หรือส่องเข้ามาทางหลังกล้องไม่เหมาะสม ในการถ่ายภาพวิว เพราะจะให้ ความรู้สึกแบนราบ (Flat lighting) ไม่สวยงาม

การแสดงขนาดของภาพให้ได้สัดส่วนตามความเป็นจริง

        บ่อยครั้งเมื่อถ่ายภาพทิวทัศน์ออกมาแล้วมักพบว่าภาพทิวทัศน์มีสัดส่วนไม่ตรงกับความเป็นจริง
เช่น ต้นไม้ที่ความเป็นจริงมีขนาดใหญ่กับดูเล็กในภาพวิธีการแก้ไขก็คือให้ถ่ายภาพผู้คนอยู่ในฉากเดียวกันคนในภาพสามารถช่วยให้ผู้ชมภาพสามารถเปรียบเทียบสัดส่วนของภาพได้ชัดเจน ผู้ชมจะรู้ได้ทันทีว่าภูเขาหรือต้นไม้นั้นมีขนาดใหญ่โตขนาดไหน

เลือกให้เหมาะกับตัวคุณ

อุปกรณ์ในการถ่ายภาพทิวทัศน์

           1.ขาตั้งกล้อง (Tripod) เนื่องจากเวลาที่เหมาะสมในการถ่ายภาพทิวทัศน์ นั้นเป็นเวลาที่มีสภาพแสงน้อย ขาตั้งกล้องจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการถ่ายภาพทิวทัศน์เพื่อหยุดอาการสั่นไหว ซึ่งขาตั้งกล้องที่ดีที่สุดในขณะนี้คือขาตั้งกล้องแบบคาร์บอนไฟเบอร์ เนื่องจากมีน้ำหนักเบากว่าขาตั้งกล้องแบบโลหะ แต่มีความทนทานและความมั่นคง นอกจากนั้นเมื่อกระทบกันจะไม่เกิดเสียงสะท้อนเหมือนโลหะ ดังนั้นโอกาสที่จะเกิดการสั่นไหวจึงมีน้อย ในการใช้ขาตั้งกล้องเพื่อถ่ายภาพทิวทัศน์นั้นผู้คนส่วนใหญ่ พอเจอกับมุมสวย ๆ ก็จะรีบตั้งขาตั้งกล้องทันทีผลที่ออกมาคือนักถ่ายภาพทุกคนจะถ่ายภาพในมุมเดียวกันหมด ดังนั้นก่อนที่จะตั้งขาตั้งกล้องนั้นเราควรใช้เวลา สักครู่หนึ่งเพื่อเดินไปรอบ ๆ เพื่อหามุมที่น่าสนใจ

          2. ฟิลเตอร์โพลาไรซ์ (polarizing) ฟิลเตอร์โพลาไรซ์ เป็นฟิลเตอร์ที่สวม เข้าไปที่หน้าเลนส์ โดยฟิลเตอร์ชนิดนี้จะทำหน้าที่ 2 อย่างคือ
         ก. ช่วยตัดแสงสะท้อนในภาพ (โดยเฉพาะในน้ำ, บนก้อนหิน หรือพื้นผิวที่สะท้อนแสงได้)
        ข. ช่วยเพิ่มแสงสีฟ้าเข้มเข้าไปในท้องฟ้า โดยทำให้ท้องฟ้ามืดลง และทำให้สีอิ่มตัวทั่วทั้งภาพ วิธีการใช้ฟิลเตอร์ตัวนี้ให้ได้ผลดีมากที่สุดก็คือ การถ่ายภาพตั้งฉากกับดวงอาทิตย์ หากแสงอยู่ด้านหน้าหรือ อยู่ด้านหลัง ฟิวเตอร์จะทำงานได้ไม่ดีนัก ข้อเสียของฟิลเตอร์โพลาโรซ์ ก็คือ ไม่เหมาะกับการทำงานกับเลนส์มุมกว้างมาก (super-wide-angle) เพราะวงของกระจกนั้นกว้างมากจึงไม่สามารถให้เฉดสีฟ้าได้อย่างสม่ำเสมอ
          3. ฟิลเตอร์ Neutral density gradient ฟิลเตอร์ Neutral density gradient เป็นฟิลเตอร์ที่ทำให้ภาพส่วนบนสุดเป็นสีดำและทำให้ภาพ ส่วนล่างโปร่งแสง ผลที่ได้คือทำให้ท้องฟ้าดูมืดขึ้น ในขณะที่พื้นล่างดูโปร่ง ทำให้ภาพท้องฟ้าและพื้นดิน จะมีแสงสมดุลกันพอดี (ตามปกติท้องฟ้าจะมีแสงมากกว่าพื้นดิน)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น