วันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

เทคนิคการถ่ายภาพบุคคล

 เทคนิคการถ่ายภาพบุคคล Portrait
ภาพบุคคล Portrait

1. การถ่ายภาพเดี่ยวบุคคล 
        เทคนิคในการถ่ายภาพบุคคลจุดประสงค์ในการถ่ายภาพเดี่ยวบุคคล คือต้องการเน้นบุคลิกภาพของบุคคลนั้นให้เด่นชัด ดังนั้น จึงต้องจัดองค์ประกอบให้ภาพผู้เป็นแบบดูเด่นกว่าองค์ประกอบอื่น ๆ ในภาพ นอกจากนี้เพื่อลดความเคอะเขินของตัวแบบอาจให้ตัวแบบทำบางสิ่งบางอย่าง เช่น ให้ถือของบางอย่าง ที่สามารถ บอกลักษณะของบุคคลได้ พยามถ่ายภาพบุคคลให้สัมพันธ์กับกิจกรรมที่เขาทำอยู่ เช่น เด็กกำลังขี่จักรยาน ผู้หญิงกำลังจัดดอกไม้ ชายชรากับงานของเขา

2. การถ่ายภาพหมู่
     ภาพหมู่เป็นภาพที่ให้ความรู้สึกถึงความสัมพันธ์ของคนในภาพ สามารถบอกความสนุกสนาน อบอุ่น และเป็นมิตร
ภาพหมู่

การถ่ายภาพหมู่อาจแบ่งได้ 2 ประเภท คือ

           ก. การถ่ายภาพแบบเป็นทางการ เช่น ภาพครอบครัวที่ถ่ายกันตามสตูดิโอ การถ่ายภาพหมู่ที่เป็นทางการ ช่างภาพควรจัดให้นั่งหรือยืนกันเป็นแถวให้สวยงามเห็นหน้าของทุกคนชัดเจนควรปรับรูรับแสงให้มีค่ามาก (หน้ากล้องแคบ) เพื่อให้ภาพมีความชัดลึก

         ข. การถ่ายภาพแบบไม่เป็นทาการ ควรชวนให้ทุกคนมุ่งความสนใจไปที่สิ่งหนึ่งร่วมกัน จัดตำแหน่งของคน ในภาพให้ศรีษะผู้ที่เป็นแบบเรียงกันให้สวยงาม ไม่ควรซ้อนกันเป็นเส้นตรงขนานกันเป็นหน้ากระดาน แต่ควรจัดให้แนวศีรษะอยู่ใน รูปสามเหลี่ยมจะทำให้ ภาพดูเด่นและน่าสนใจ

การถ่ายภาพบุคคลอย่างมืออาชีพ

เคล็ดลับในการถ่ายภาพบุคคลให้ดูสง่างาม

        การถ่ายภาพบุคคลในที่นี้จะกล่าวเน้นเฉพาะการถ่ายภาพด้วยแสงธรรมชาติเท่านั้นจะไม่พูดถึงการถ่ายในสตูดิโอมากนัก การถ่ายภาพบุคคลที่ดีต้องสามารถแสดงบุคลิกภาพของบุคคลผู้เป็นแบบให้ปรากฎในรูปภาพ ภาพถ่ายบุคคลจึงเปรียบเสมือนตัวแทนของผู้ที่ถูกถ่าย

แสงในการถ่ายภาพบุคคล

1. ลักษณะของแสงในการถ่ายภาพบุคคล แสงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการแสดงลักษณะของบุคคล การจัดลักษณะทิศทาง ที่มาของแสงให้เหมาะกับ บุคคลที่ถ่ายมีความสำคัญมากอาจจำแนกแสงในการถ่าย ภาพบุคคล ได้ดังนี้

ก. แสงกระจายนุ่ม ๆ (Diffused light) และการให้แสงแบบแบน ๆ (Flat lighting) จะให้ความนุ่มนวลและเป็น
ความรู้สึก สำหรับวัตถุที่อยู่นิ่ง ให้อารมณ์หรือบรรยากาศที่เคร่งขรึม

ข. แสงจัด (Specular lighting) เป็นแสงหนักและให้ความรู้สึกเปิดเผยถึงพื้นผิว

ค. แสงเฉียง เหมาะสำหรับบุคคลที่ให้อารมณ์และ บรรยากาศตื่นเต้น พยามหลีกเลี่ยงการถ่ายภาพใน
ตอนเที่ยงวัน เพราะแสงจัดและทำให้เกิดเงาใต้กระบอกตาไม่สวยงาม ควรใช้แสงเฉียงเข้าเหนือศรีษะจะช่วยแยกผมออกจากพื้นผิว ภาพบุคคลจะเด่นขึ้น

ง. แสงสีของฉาก ในการถ่ายภาพบุคคลจะต้องมืดกว่าค่าแสงเฉลี่ยของผู้เป็นแบบและสว่างกว่าค่าแสงที่ผมส่วนมืด

แสงในการถ่ายภาพบุคคลในที่ร่ม

ก.การถ่ายภาพในที่ร่มโดยใช้แสงธรรมชาติ ต้องเป็นแสงที่ไม่ได้ส่องเข้ามาโดยตรง แสงธรรมชาติที่สวยที่สุดคือแสงทางทิศเหนือ ที่ส่องเข้ามาทางหน้าต่าง ให้ผู้เป็นแบบหันหน้าเฉียง ๆ เพื่อรับแสงที่ผ่านหน้าต่างประตูเข้ามากระทบที่ผิวหน้า หากมีเพียงหน้าต่างบานเดียวและแสงส่องเข้ามาโดยตรง ให้ใช้ผ้าม่านบาง ๆ บังแสง ผ้าม่านจะเป็นตัวช่วยกระจายแสง

ข.การถ่ายภาพบุคคลโดยใช้แสงสังเคราะห์ แสงสังเคราะห์คือ แสงไฟภายในอาคาร แสงพวกนี้หากมองด้วยตาอาจเห็นว่าสว่าง แต่ในความเป็นจริง แล้วความแรงของแสงค่อนข้างน้อย การถ่ายภาพ ในห้องที่ทีแสงไฟประเภทนี้จะต้องระวังเรื่องความเร็วชัตเตอร์ถ้าหากมีค่าต่ำมากก็ต้องใช้ขาตั้งกล้องหรือแฟลช นอกจากนี้การเลือกฟิลม์ ที่มีค่าความไวแสง (ISO) ที่สูงก็จะช่วยให้สามารถใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่สูงขึ้นได้

การถ่ายภาพบุคคล Portrait

แสงในการถ่ายภาพบุคคลกลางแจ้ง

        การถ่ายภาพบุคคลกลางแจ้งควรจัดให้แสงเข้าด้านข้างทำมุม 45 องศาจะทำให้ภาพดูมีมิติ ลักษณะของแสงควรเป็นแสงนุ่ม ถ้าเป็นแสงธรรมชาติก็ควรเป็นช่วงเช้าหรือช่วงเย็น การถ่ายภาพในตอนเที่ยงวันมักประสบปัญหา แสงส่องตรงลงมาซึ่งทำให้หน้าของผู้เป็นแบบมืด นอกจากนั้นยังทำให้ผู้เป็นแบบหรี่ตา หรือมีเหงื่อในขณะถ่ายภาพ วิธีการแก้ไขคือให้ย้ายผู้เป็นแบบเข้าไปในที่ร่ม ที่ซึ่งมีแสงนุ่มและเงาสะดุดตากว่า แต่ไม่ควรถ่ายในสถานที่มืดทึบ เช่นถ้ำ ให้ถ่ายในที่มีร่มเงาใกล้แสงอาทิตย์ที่ส่องมาโดยตรง (อย่างเช่น ใต้ต้นไม้ใหญ่, ใต้ระเบียงบ้าน หรืออาคารที่ยื่นออกมา)

ข้อแนะนำในการถ่ายภาพบุคคล

1. เลนส์ที่เหมาะสมกับการถ่ายภาพบุคคลเลนส์ที่เหมาะสมกับการถ่ายภาพบุคคลคือเลนส์ซูมช่วงสั้น
มีความยาวโฟกัสประมาณ 85 - 105 mm ทั้งนี้เนื่องจาก
       ก. ภาพที่ได้จะมีสัดส่วนตรงกับความเป็นจริงโดยเฉพาะเมื่อเข้าไปถ่ายในระยะใกล้มาก ๆ
       ข. ให้ฉากหลังที่พร่ามัวเนื่องจากความชัดตื้นมาก สิ่งสำคัญจึงดูเด่นขึ้นมา
       ค. ทำงานได้สะดวก สามารถถ่ายภาพได้ในระยะห่างจากผู้เป็นแบบพอสมควร

2. รูรับแสงที่เหมาะสมกับการถ่ายภาพบุคคล หากถ่ายภาพในที่ที่มีแสงมากพอ รูรับแสงที่เหมาะสมกับการถ่ายภาพบุคคลมากที่สุดคือค่า f/11 จะให้ความคมชัดมาก และทำให้เกิดความลึกบนใบหน้า นอกจากนั้นหากตั้งค่ารูรับแสงที่ f/11 และทำการโฟกัสที่บริเวณดวงตาจะให้ระดับความคมชัดทั่วทั้งใบหน้าได้อย่างพอเหมาะ

3. ฉากหลังในการถ่ายภาพบุคคล
         ก. การถ่ายภาพบุคคลโดยใช้ฉากหลังสีขาว/ดำ การใช้ฉากหลังสีขาว ภาพที่ออกมาจะปรากฎเป็นสีเทา การจะทำให้ฉากหลังเป็นสีขาวจริงนั้น ต้องจัดแสงให้มากกว่าหนึ่งตัวไปที่ฉากหลังหรือใช้แสงจากแฟลช หากใช้ฉากหลังสีดำต้องใช้แสงชนิดพิเศษเพื่อเพิ่มแสงสว่างจากด้านหลังแบบ
         ข. การถ่ายภาพบุคคลโดยใช้ผ้าใบหรือผ้ามัสลินเป็นฉากหลัง การใช้ผ้าใบหรือผ้ามัสลินเป็นฉากหลังนั้นควรใช้ผ้าที่เป็นสีกลาง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักนิยมใช้สีเทาหรือสีน้ำตาลฉากหลังเหล่านี้จะเพิ่มความละเอียดให้กับภาพบุคคล
         ค. การถ่ายภาพบุคคลโดยใช้ฉากหลังเป็นธรรมชาติ การถ่ายภาพบุคคลโดยใช้ฉากหลังเป็นธรรมชาตินั้นต้องหาฉากหลังที่เรียบง่าย ไม่รกรุงรัง เพื่อส่งเสริมให้แบบดูเด่นซึ่งอาจจำเป็นต้องเปิดรูรับแสงกว้าง เช่น f 2.8 หรือ f4 เพื่อทำให้ฉากหลังพร่ามัว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น