วันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ความรู้เบื้องต้นสำหรับการถ่ายภาพ

ความรู้เบื้องต้นสำหรับการถ่ายภาพ
การถ่ายภาพเบื้องต้น

        ก่อนที่เราจะถ่ายภาพนั้น เราจำเป็นต้องมีความรู้ในเรื่องกลไกการทำงานของกล้องก่อน กล่าวคือ กล้องดิจิตอลมีหลักการทำงานคล้ายๆ กับกล้องฟิล์ม คือแสงผ่านเลนส์ ผ่านรูรับแสง และม่านชัตเตอร์ไปตกกระทบกับเซ็นเซอร์ภาพ จากนั้นจึงออกมาเป็นภาพ ส่วนการทำงานของกล้องฟิล์ม คือแสงผ่านเลนส์ ผ่านรูรับแสง และม่านชัตเตอร์ไปตกกระทบกับแผ่นฟิล์ม แล้วออกมาเป็นภาพ และในปัจจุบันมีการพัฒนาระบบกล้องดิจิตอลให้มีลูกเล่นและฟังก์ชั่นต่างๆ ให้ง่ายต่อการใช้งาน และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


        เมื่อซื้อกล้องมา สิ่งที่ต้องปฏิบัติอย่างแรกคือ การอ่านคู่มือการใช้งานของกล้องที่ซึ้อมา ว่ามีฟังก์ชั่นอะไรบ้าง ข้อมูลพื้นฐานของกล้องมีอะไรบ้าง และกล้องที่เลือกซื้อมามีคุณสมบัติเด่นอะไร เพื่อจะทำให้เรานำคุณสมบัติ

Scene Mode คือโปรแกรมสำเร็จรูปที่กล้องดิจิตอลจัดเตรียมไว้ โดยทั่วๆ ไป จะมีทั้งในกล้อง compact
และกล้อง single lens เพื่อใช้ถ่ายภาพในลักษณะและสถานการณ์ต่างๆ โดยมีรูปแบบทั่วไป ดังนี้

Portrait มักใช้สัญลักษณ์ “P” หรือรูปหน้าคน เป็นโปรแกรมที่เหมาะสำหรับการถ่ายภาพบุคคล
การทำงานของกล้องดิจิตอลจะเน้นที่บุคคลหรือวัตถุที่ต้องการถ่ายภาพ หรือการทำงานของกล้องบางรุ่นก็จะปรากฏกรอบสี่เหลี่ยมขึ้นมาและมีภาพบุคคลหรือวัตถุที่ต้องการถ่ายอยู่ภายในกรอบนั้น

Landscape มักใช้สัญลักษณ์ “L” หรือรูปวิวทิวทัศน์ ภูเขา เป็นโปรแกรมที่เหมาะสำหรับการ
ถ่ายภาพทิวทัศน์ เวลาถ่ายภาพด้วยโปรแกรมนี้ ควรจะเปิดเลนส์ให้กว้าง เนื่องจากโปรแกรมนี้จะโฟกัสภาพในระยะที่ไกลที่สุด หรือที่เรียกว่า “infinity”เด่นเหล่านั้นมาใช้ประโยชน์จากกล้องได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

Sports มักใช้สัญลักษณ์ “S” หรือรูปนักกีฬาวิ่ง เป็นโปรแกรมที่เหมาะสำหรับการถ่ายภาพกีฬา
หรือวัตถุที่มีการเคลื่อนไหวเร็วๆ ซึ่งเป็นการปรับความเร็วชัตเตอร์ให้สูงขึ้นโดยอัตโนมัติ มีการปรับระบบให้มีการถ่ายภาพต่อเนื่อง รวมถึงปรับค่าความไวแสงด้วย

Night Portrait มักใช้สัญลักษณ์ “P” ซึ่งจะคล้ายๆ กับ Portrait แต่ต่างกันตรงที่มีการชดเชย
แสง เป็นโปรแกรมที่เหมาะสำหรับการถ่ายภาพบุคคลตอนกลางคืนที่ฉากหลังพอมีแสงสว่างอยู่บ้าง ซึ่งควรจะใช้อุปกรณ์เสริมช่วยคือ ขาตั้งกล้อง เพราะเวลาที่เราถ่ายภาพในพื้นที่ที่มีแสงน้อย ภาพจะไหว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น